ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 10469|ตอบกลับ: 3

อย่านิ่งนอนใจ! อาการเตือนโรคระบบทางเดินปัสสาวะ

[คัดลอกลิงก์]

  ออฟไลน์ 

อัพเกรด  100%

2

กระทู้

7

ตอบกลับ

1669

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1669

เข็มประดับยศ 1

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย gooddoctor เมื่อ 2022-2-25 23:22




รู้จักกับระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอวัยวะหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันเพื่อผลิตและขับปัสสาวะออกจากร่างกาย โดยปัสสาวะจะถูกผลิตในไตแล้วไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะจากนั้นจึงถูกขับออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะ อวัยวะหลักๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะจึงประกอบไปด้วย
  • ไต เป็นอวัยวะขนาดเท่ากำปั้นอยู่ในช่องท้องสองด้านของกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว มีหน้าที่หลักคือกรองของเสียที่อยู่ในเลือด ดูดซึมกลับสารที่มีประโยชน์ รักษาสมดุลของเหลว ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมความดันโลหิต และผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น ปัสสาวะที่ผลิตในไตจะไหลผ่านไปยังท่อไตผ่านทางกรวยไต
  • ท่อไต เป็นกล้ามเนื้อลักษณะท่อบางๆ ต่อจากไตทั้งสองข้างเพื่อนำปัสสาวะจากไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะสำหรับพักปัสสาวะไว้ชั่วคราวก่อนขับออกจากร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ
  • ท่อปัสสาวะ เป็นท่อต่อจากกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่นอกร่างกาย ท่อปัสสาวะของผู้ชายจะยาวกว่าผู้หญิงและไม่แยกจากอวัยวะเพศ ดังนั้นระบบทางเดินปัสสาวะจึงมักเกี่ยวพันและครอบคลุมไปถึงระบบสืบพันธุ์เพศชายด้วย



โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย
โรคของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย มักเป็นโรคที่เกิดกับไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะนั่นเอง อาทิ
  • โรคนิ่วในไตและท่อไต เป็นการตกตะกอนของสารต่างๆ ในปัสสาวะที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็งลักษณะคล้ายก้อนกรวดที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยอย่างยิ่ง นิ่วเกิดในไตและอาจหลุดลงมายังท่อไตได้ ซึ่งก้อนนิ่วนี้หากมีขนาดเล็กมากจะสามารถหลุดออกมากับปัสสาวะได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ แพทย์จำเป็นต้องเอานิ่วออก อาจด้วย การสลายด้วยคลื่นกระแทก (ESWL) การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ หรือการผ่าตัด สำหรับการตรวจและวินิจฉัยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น CT Scan หรือ Ultrasound


  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ แล้วเกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆ เกิดเป็นโรค เช่น

    • โรคท่อปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบของเซลล์เยื่อเมือกบุท่อปัสสาวะ มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะได้โดยง่ายกว่าผู้ชายซึ่งมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก
    • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ
    • โรคกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบของส่วนต่อระหว่างไตกับท่อไตที่ต่อเนื่องมาจากกระเพาะปัสสาวะ
    • โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย



  • โรคไตเรื้อรัง เป็นสภาวะที่ไตถูกทำลายโดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และอาจรวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น ทำให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง โรคไตเรื้อรังมักรักษาไม่หาย แต่อาจชะลอความรุนแรงของโรคได้


  • โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาจเป็นนิ่วจากไตหรือท่อไตที่หลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ หรือเป็นนิ่วที่เกิดขึ้นเองในกระเพาะปัสสาวะก็ได้ โดยมักเกิดจากการที่มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างอยู่จากการขับถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้เกิดการตกตะกอนแล้วค่อยๆ โตขึ้นเป็นก้อนนิ่ว การเอานิ่วในกระเพาะปัสสาวะออกสามารถทำได้โดย การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Cystolitholapaxy) หรือการผ่าตัด


  • โรคมะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วย

    • มะเร็งไต เป็นมะเร็งที่เกิดได้ทั้งบริเวณเนื้อเยื่อไตและกรวยไต โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน และการสัมผัสกับสารเคมีบางอย่าง เช่น แร่ใยหิน แคดเมียม ยาฆ่าแมลง
    • มะเร็งท่อไต เป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีอาการร่วมเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ
    • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์เยื่อบุผนังภายในกระเพาะปัสสาวะ มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมีบางอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน การติดเชื้อและระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง เช่น มีการติดเชื้อ หรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้อย่างแม่นยำโดย การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) ส่วนการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ยังอยู่ในระยะแรก ทำได้โดยการผ่าตัดโดยการส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปตัดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ และการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง กรณีที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่ชั้นกล้ามเนื้อหรือตั้งแต่ระยะที่ 2 ขึ้นไป แพทย์อาจต้องใช้วิธี การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด (radical cystectomy) ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา
    • มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มักเกิดกับผู้ชายวัย 50 ปีขึ้นไปและอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านเชื้อชาติ พันธุกรรม รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อแดง โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีทางเลือกในการรักษาได้แก่ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง (laparoscopic radical prostatectomy) หรือการผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด ( robotic–assisted da Vinci surgery) รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด



  • โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ และไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะติดขัด รวมถึงทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนกักเก็บน้ำปัสสาวะได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจถูกกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะกะทันหันได้ โรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาได้ด้วยการกินยา การผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยเลเซอร์พีวีพี หรือการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง


  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ในขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยอาจเกิดจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมองและการลดลงของแรงขับทางเพศ และการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน เป็นต้น


  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (OAB) เป็นโรคที่พบมากในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันไม่สามารถรอได้ และปัสสาวะเล็ดราด ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทบริเวณกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและไวกว่าปกติ



อาการของโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่มักมีอาการเบื้องต้นร่วมกันที่สามารถสังเกตได้ คือ
  • ปวดหลังหรือปวดบริเวณข้างลำตัว
  • ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด
  • ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่สุด น้ำปัสสาวะน้อยผิดปกติ
  • ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาล สีชมพู หรือสีขาวขุ่น
  • ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ



ดังนั้น หากคุณมีอาการดังกล่าว ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาจเป็นอาการที่นำไปสู่โรคทางเดินปัสสาวะที่รุนแรงกว่าที่คิด การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคจึงเป็นวิธีที่ดีสุด เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกต้องตรงกับโรคและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

เรียบเรียงโดย นพ. จรัสพงศ์ ดิศรานันท์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/April-2018/urology-prostate-bladder


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์นี้ หากยังไม่มีบัญชี กรุณา ลงทะเบียน

×
โพสต์ยอดนิยม

  ออฟไลน์ 

อัพเกรด  8.78%

Vel.
9%

3

กระทู้

136

ตอบกลับ

22 หมื่น

เครดิต

ผู้มีประสบการณ์

เครดิต
226336

เข็มประดับยศ 1เข็มประดับยศ 2เข็มประดับยศ 3

โพสต์ 2022-5-11 16:14:44 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

  ออฟไลน์ 

อัพเกรด  5.68%

Vel.
6%

0

กระทู้

133

ตอบกลับ

1 หมื่น

เครดิต

กำลังตัดสินใจ

เครดิต
16083
โพสต์ 2022-5-26 22:16:43 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณ บทความเเละสาระดีๆทึานำมาฝากครับ

  ออฟไลน์ 

อัพเกรด  89%

Vel.
89%

0

กระทู้

26

ตอบกลับ

1890

เครดิต

สมาชิกใหม่

เครดิต
1890
โพสต์ 2023-1-8 15:15:56 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อ่านแล้ว มีเสี่่ยงๆ บางเลยครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|ROIKIB | รอยขลิบ

GMT+7, 2024-11-3 20:53 , Processed in 0.023631 second(s), 30 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้